ปลูกต้นเงินไหลมาชมพู / ออมชมพู (Pink Syngonium)

Pink Syngonium

วันนี้ขอมาแบ่งปันประสบการณ์ #เรียนรู้โดยสังเกต จากการปลูกต้นเงินไหลมาชมพู หรือ ออมชมพู หรือ Pink Syngonium นะคะ

จากภาพ มองผ่าน ๆ ต้นไม้ทั้งสามกระถางนี้ดูคล้าย ๆ กัน แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียวใช่ไหมคะ ใช่ค่ะ 2 ต้นทางซ้ายจะเป็นต้นลักษณะพุ่ม ส่วนต้นทางขวาลำต้นจะยืดยาว สำหรับสีสัน ต้นซ้ายสุดใบสีเขียวกับชมพูแทรกสลับพอ ๆ กัน ต้นตรงกลางใบจะสีเขียวอ่อนหรือชมพูเรียบ ๆ ไม่ค่อยเป็นลายหรือแทรกสลับสี ส่วนต้นขวาจะค่อนข้างเขียวเข้มกว่ามีสีชมพูแทรกตามเส้นใบเล็กน้อย

ความจริงแล้ว ทั้งสามต้นนี้คือต้นไม้ชนิดเดียวกัน ถูกตัดมาปักชำจากต้นแม่ต้นเดียวกันเลยนะคะ แอนทำเองกับมือ มั่นใจได้ 100% ตอนได้ต้นแรกมาก็มีเพียงต้นเดียวเน้น ๆ เลยค่ะ

ดังนั้น ก็มักจะเห็นแอนเรียกชื่อต้นลักษณะแบบนี้เป็นชื่อด้วยกันทั้งหมด ส่วนลูกค้าท่านไหนที่สนใจแอนก็จะถามและถ่ายรูปให้เลือกได้ตามใจชอบเลยว่าอยากได้ต้นที่มีลักษณะแบบไหนที่มีอยู่ในช่วงนั้นค่ะ ไม่งงเนอะ 😁

สำหรับสาเหตุที่ทำให้แต่ละต้นมีความแตกต่างกันออกไปนั้น เท่าที่ลองสังเกตดูและ "เดา"(ฮ่า) แอนว่า.. น่าจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ตั้งวางต้นไว้ แสงแดด น้ำ ธาตุอาหารและปัจจัยต่าง ๆ ที่แต่ละต้นได้รับแตกต่างกันออกไปค่ะ เอาไว้คราวหน้า มีโอกาสจะมาเล่าข้อสังเกตเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการตั้งวางที่มีผลกับลักษณะต้นและใบให้อ่านกันอีกทีนะคะ วันนี้ชักยาวไปแล้วแหละ เดี๋ยวอ่านเหนื่อยเนอะ 😄

ส่วนท่านไหนที่มีความรู้ทางวิชาการ หรือประสบการณ์อันยาวนานอยากจะเพิ่มเติมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันก็ยินดีนะคะ

ป.ล. แอนไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้โดยตรง ส่วนใหญ่ก็จะเรียนรู้จากการค้นคว้า ลงมือทำและเฝ้าสังเกตเอาเองด้วยความสนใจส่วนตัว อาจจะไม่เป๊ะปังเหมือนกูรูหลาย ๆ ท่าน ก็กำลังค่อย ๆ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เรื่อย ๆ ค่ะ หากผิดพลาดตรงไหนก็ยินดีน้อมรับคำแนะนำติชมนะคะ

#เรียนวิชาSyngoniumในสวนบ้านแอน
#ปลูกเงินไหลมา #ต้นเงินไหลมาชมพู
#ปลูกออมชมพู #ต้นออมชมพู
#ปลูกSyngonium #PinkSyngonium
#ไม้ใบสวยสวนบ้านแอน
#ไม้ประดับสวนบ้านแอน
#มีขายนะ 😆 เชิญค่ะ 👉 Ann's (สวนบ้านแอน)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หม่อน (Mulberry)

มูลไส้เดือน (Vermicompost)

Say Hi to November and Winter ( ^ . ^ )